Binaural beats ศาสตร์แห่งคลื่นความถี่ ที่ส่งผลต่อจิตใจ

Binaural beats ศาสตร์แห่งคลื่นความถี่ ที่ส่งผลต่อจิตใจ

Healing sound individual 1

เคยแปลกใจมั้ยว่า เวลาที่ฟังดนตรีบำบัดนั้น ทำไมมันถึงให้ความรู้สึกที่แตกต่างกว่า มันมีกระบวนการผลิตที่แตกต่าง กว่าเพลงทั่วไปหรือยังไง?” ขออนุญาตเริ่ม e.p. ใหม่เลยละกันครับเพราะบทความนี้ น่าจะยืดยาวไปหลาย e.p. จนเป็นหลายกิโลๆ ผ่านเส้นทางสายใหม่ถึงชมพูทวีปมั้ยนะ? ปลายปีที่แล้ว ผู้เขียนได้เขียนบทความเรื่อง instrumental #2 : ASMR เอาไว้มันอาจจะเกี่ยวข้องกับบทความนี้พอสมควรในด้านอุตสาหกรรมดนตรีบรรเลงที่มีมายาวนานแต่กระนั้น ในบทความนี้และต่อๆไป เราจะพูดถึงเหตุและผลในเชิงวิเคราะห์กันครับ มันอาจจะมีประโยชน์ต่อผู้เสพย์ และนักทำเพลงได้ไม่มากก็น้อย

ในหลายๆท่านอาจจะทราบดีอยู่แล้ว หรือบางท่านอาจจะยังไม่ทราบก็ขอพูดไปเรื่อยไปเปื่อยในเชิงอยากเล่าครับในโลกของดนตรีแขนงนี้มันมีอยู่หลาย catagory และหลายปัจจัยทั้งในเรื่องของการบำบัด หรือการผ่อนคลายหรือ แม้กระทั้งการเสพย์เพื่อให้มีความสุข มันคือการฟังคลื่นเสียงในย่านความถี่ที่แตกต่าง เพื่อทำให้สมองของเรานั้นทำการผลิตสารที่ให้ผลต่างๆนาๆ ไปทำปฏิกิริยาต่อร่างกายดั่งการร่ายมนต์ไม่ต่างอะไรกับสารเสพย์ติดครับ ยกตัวอย่างเช่น ทางบางท่านอาจจะเคยมี routine ที่แบบว่า เลิกงาน กลับบ้าน แล้วนอนไม่หลับ บางคนอาจจะเปิด youtube ฟังเพื่อให้นอนหลับ สิ่งที่น่าสนใจนั้นคือคุณฟังอะไรก่อนนอนกันบ้าง ?

โอ้โห มันมากมายเกินที่จะเดาเพราะทุกคนชอบไม่เหมือนกัน e.p.นี้ขอหยิบยก สิ่งที่รู้สึกว่าใกล้ตัวผู้เขียนมากที่สุดมาเล่าให้ฟังก่อนนะครับ โอเค! ผู้เขียนจะฟังอยู่ไม่กี่แบบ (ไม่รู้ว่าหลายๆท่านจะเหมือนกันมั้ย แต่ว่าสิ่งที่จะพูดถึงในวันนี้มันเชื่อมโยงกับดนตรีที่เราๆชื่นชอบกันอยู่พอสมควร)

*ผู้เขียนขอเว้นข้าม ความนิยมที่พบได้ง่าย เช่น เรื่องเล่าจากทางบ้าน ที่เป็นรายการสดกึ่ง podcast ทั้งหมดนะครับ ขอว่ากันด้วยเรื่อง healing music เป็นอันดับแรกก่อน ผู้เขียนได้จำแนกแบบคิดเร็วๆ ได้ดังนี้

– Binaural beats

– Meditation (Solfeggio Frequencies)

– Chill beat (different tune)

– ASMR แยกเป็นที่มีโน็ตกับไม่โน๊ต

(อาจจะมีแบบอื่นเพิ่ม หรือใดๆที่มากกว่านี้ และอาจจะเหมาสมกับการใช้งานในแต่ละบุคคล)

 

อาจจะมีมากกว่านี้ แต่ 4 แบบนี้ค่อนข้างในรับความนิยมในปัจจุปัน จุดที่น่าสนใจมากๆที่จะนำมาเล่าเป็นอันดันแรกคือ “Binaural Beats” ครับ ขออธิบายเลยแล้วกันครับ คำว่า “Binaural” มันมาจาก 3 คำรวม

คำว่า Bi ที่แปลว่า สอง

คำว่า Aural ที่เแปล หูของเรา

ส่วนคำว่า Beat ทุกคนน่าจะรู้กันดีครับ

น่าจะคิดตามแล้วเดาออกใช่ไหมครับว่าเสียงแบบนี้ interactive กับร่างกายเราในส่วนใดใช่ครับ! หูทั้ง2ของเรานี้แหละครับ Binaural beats เหมือนยาสามัญประจำบ้านที่มีฉลากข้างซองยาที่ว่าไปด้วยย่านความถี่ ที่โดนบวกลบคูณหารมาแล้วได้ผลลัพธ์อยุ่ใน range ใดๆ ที่จะก่อให้เกิดสรรพคุณต่อผู้ฟังในบริบทนั้นๆ งงมั้ยไหมครับ?

 

ผลงานจากการวิจัย และ การรายงานนับครั้งไม่ถ้วน จากนักวิจัยหรือนักบำบัดจิตวิทยาที่ศึกษาดนตรีบำบัด ที่มีอยู่ทั่วโลก และเราสามารถเอามาอ้างอิงแบบจับต้องได้ครับ โคตรน่าสนใจ Binaural beats ที่ใช้กันหลักๆนั้นจะมีอยู่หลายสรรพคุณ ซี่งในแต่ละย่านความถี่นั้นให้สรรพคุณที่ต่างกันครับและการผลิตเสียงพวกนี้ก็จะใช้วิธีทำที่ต่างกันเช่นกัน แต่เพื่อให้เกิดคุณภาพต่อผู้บริโภคที่ดีที่สุด ผลลัพธ์ควรอยู่ใน range ความถี่นั้นๆ โดยที่ไม่คาบเกี่ยว ขออธิบายเรื่องความถี่ที่มีผลต่อร่างกายในแขนงของ Binaural beats กันสักนิด

 

Binaural Beats คือการใช้เสียงความถี่ที่แตกต่างกันเล็กน้อย (น้อยกว่า 30 – 40Hz ต่อระยะห่างของความถี่ จากหูเรา 1 ด้าน ไปอีก 1ด้าน) เปิดผ่านหูซ้ายและขวาเมื่อสมองได้ยินความถี่ที่ต่างกันมันจะประมวลผล และทำให้สมองเราหลั่งสารเคมีในร่างกายบางอย่าง

ที่ interactive กับร่างกายเรา ตัวอย่างเช่น หากหูซ้ายได้ยินเสียงความถี่ 410Hz และหูขวาได้ยิน 400 Hz สมองจะค่อยๆ ซิงโครไนซ์เข้ากับความถี่ผลต่าง 10 Hz (L410hz – R400hz = 10hz) แทนที่จะได้ยินสองเสียงแยกกัน คุณจะได้ยินเสียงที่ 10 Hz ที่กลางกระหม่อมแทน ซึ่งความผลลัพธ์ ความห่างระหว่างคลื่นความถี่ของหูซ้ายและขวา 10hz นี่แหละ ก่อให้เกิดเป็น Binaural Beats (ที่อยู่ในช่วงระยะของคลื่น Alpha)

 

Binaural Beats จะเกิดขึ้นได้ เสียงทั้งสองต้องมีความถี่ต่ำกว่า 1,000 Hz แต่ต่างกันไม่เกิน 30 Hz และต้องฟังแยกหูผ่านหูฟัง ไม่งั้น สมองจะไม่สามารถประมวลผล Binaural Beats ได้ (อย่าเพิ่ง_งงเดัอ) เหมือนเรากำลังนั่งฟังคนนึง ที่เล่นกีต้าร์คีย์เดียวกัน เล่นโน็ตเดียวกัน ทางด้านหูซ้าย และขวา ในตำแหน่งที่องศา ของเสียงเดินทางมาถึงหูพร้อมๆกันแหละครับ แต่เผอิญว่าคนฝั่งทางขวา เขาจูนสาย แบบ standard tune ที่ 444hz แทนที่จะเป็น 440hz ตามมาตรฐานโลก สมองเราก็เลยประมวลผลไปอีกแบบ) (เรื่องนี้มันคล้ายๆกันกับการ out of phase หรือ phase shift ในแง่ของการบันทึกเสียงหรือ ระยะเวลาในการเดินทางของเสียงที่บิดเบือนครับ เพียงแค่ว่า มีความถี่ห่าง frequency ที่ต้นกำเนิดเสียงนั้น เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญ เพราะต้นกำเนิดเสียงที่มีมากว่า 1 )

[อย่าเพิ่งหนีนะ ความสนุกกำลังมา]

 

นี่คือคลื่นเสียงในแต่ละช่วงความถี่สัมพันธ์กับการทำงานของสมองเราๆ ถ้าคุณคือคนทำเสียงทำเพลงหรือนักประพันธ์เสียงคุณสามารถที่จะคราฟเสียงในแต่ละข้างซ้ายหรือขวาให้ตรงตามชนิดคลื่น ด้านล่างนี้ที่มีข้อมูลให้ครับ แต่ถ้าคุณเป็นนักฟัง ก็ไปหามาฟังตามจุดประสงค์ได้เลยนะ

คลื่นเดลต้า (Delta) 1-4 Hz เกี่ยวข้องกับการนอนหลับลึกและการพักผ่อน

คลื่นเธต้า (Theta) 4-8 Hz เชื่อมโยงกับการนอนหลับแบบ REM ลดความวิตกกังวล การผ่อนคลาย รวมถึงภาวะสมาธิและความคิดสร้างสรรค์

คลื่นอัลฟ่า (Alpha) 8-13 Hz ส่งเสริมการผ่อนคลาย เพิ่มความคิดในแง่บวก ลดความวิตกกังวล (Anxiety)

คลื่นเบต้า (Beta) ความถี่ต่ำ 14-30 Hz เกี่ยวข้องกับสมาธิ ความกระตือรือร้น การแก้ปัญหา และความจำที่ดีขึ้น

คลื่นแกมม่า (Gamma)40 Hz มีประโยชน์ในการเพิ่มการฝึกฝนและการเรียนรู้

(ทั้งหมดนี้คือผลวิจัยล้วนๆนะยังไม่มี องกรค์ไหนออกมายืนยัน แต่ด้วยการทำวิจัย ที่ให้คนจำนวนมากๆเท่ากัน ฟังเสียงความถี่ที่เท่าๆกัน

ในเวลาเท่าๆกัน (150คน ฟัง 16hz หรือใดๆ 150คนฟัง 40hz)เป็นเวลา 30 วันติดต่อกัน ผลกลายเป็นว่า คนที่ฟัง Binaural beats นั้น จะทำแบบทดสอบอยากๆที่นักวิจัยให้ทดสอบ ได้อย่างชาญฉลาดกว่ากลุ่มคนที่ฟัง 16hz เฉยเลย5555

.

มาถึงตรงนี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสทดลอง สร้างแทร็คที่เป็น Binaural beats บ้าง ซึ่งค้นพบว่ามันก็ไม่ได้ง่ายหรือยากเกิน เว้นแต่จะต้องมีการคำนวนและหาผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เพื่อตอบสนองต่อสิ่งที่จะนำไปใช้หรือบำบัด

.

วิธีที่จะสร้าง Binaural Beats

ง่ายๆใน DAW ของคุณ คือการสร้าง Waveform ขึ้นมา ทีละข้าง (L,R) ไม่ว่าจะอยู่กุญแจไหน โดยให้แต่ละข้าง มีระยะห่างของความถี่ ที่ต่างกันตาม ดังขั้นต้นที่กล่าว เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ครับ แล้วค่อยเติม Layers

สร้างมิติตามเสริมให้หลัง แต่ทั้งนี้ มันก็จะมีเรื่อง การจูน pitch ของเครื่องดนตรีให้เหมาะสมต่อการออกฤทธิ์อีก ซี่งเด๋วเรามาว่ากัน

 

e.p. ต่อไปครับ และในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจจะมี Binaural Beats ในแบบของเราให้หูของทุกท่านได้ฟัง และเราจะมาพูดถึง ดนตรีแขนงนี้แบบ ทำไปเขียนไป ใน e.p ต่อๆไปครับ